การนำเข้าสินค้า(Import)

การดำเนินการกับกระบวนการศุลกากรนำของเข้า

1. จัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า
2. ตัดบัญชีข้อมูลใบขนสินค้ากับรายงานการนำของเข้า
3. ชำระค่าภาษีอากร
4.ตรวจสอบตามกระบวนการศุลกากร
5.รับของจากอารักขาของศุลกากร

การเตรียมเอกสาร

1.ต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้า
2.บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
3.บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
4.ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading หรือ Air Waybill)
5.ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice)
6.ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (License)
7.ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) กรณีใช้สิทธิลดอัตราอากร
8.เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม, คุณลักษณะและการใช้งานของสินค้า, Material Safety Data Sheet, หรือแค็ดตาล็อค เป็นต้น

การคำนวณและการชำระค่าภาษีอากร

ตรวจสอบพิกัดอัตราอากรขาเข้าของสินค้า เพื่อนำมาใช้คำนวณเสียภาษี โดยขาเข้า ใช้ฐานราคา CIF  การชำระภาษีอากร ผู้นำเข้า หรือ ตัวแทนชำระ ด้วยเงินสด หรือ เช็คธนาคาร หน่วยการเงิน ณ ท่าเรือที่ที่นำของเข้า

สิทธิประโยชน์เขตการค้าเสรีในการนำเข้าสินค้า

เงื่อนไขในการได้รับสิทธิ FTA
1. เป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นอากรศุลกากร หรือ ลดอัตราอากรตามความตกลง FTA สามารถตรวจสอบจากประกาศกระทรวงการคลัง
2. เป็นสินค้าที่ ได้ถิ่นกำเนิดเป็นไปตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ FTA มีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (C/O)
3. เป็นสินค้าที่ส่งตรงจากประเทศผู้ผลิตภายใต้ความตกลง FTA มายังประเทศผู้นำเข้า

ความตกลงเขตการการค้าเสรี

- เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
- เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACNFTA)
- เขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี (AKFTA)
- เขตการค้าเสรีอาเซียนอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP)
- เขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย (AIFTA)
- เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA)
- เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA)
- เขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย (THAI-INDIA)
- เขตการค้าเสรีไทย-เปรู (THAI-PERU)
- เขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)
- เขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP)
- เขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (THAI-CHILE)

 

ของต้องห้าม/ต้องกำกัด ในการนำเข้า

ของต้องห้าม
หมายถึง ของที่ห้ามไม่ให้นำเข้ามา หรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร เช่น
• สารเสพติด
• วัตถุ หรือสื่อลามก
• ของลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา
• ธนบัตร หรือเหรียญกษาปณ์ปลอม
• สัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ที่อยู่ในบัญชีควบคุมของอนุสัญญาไซเตส
ของต้องกำกัด
หมายถึง ของบางชนิด ที่กฎหมายควบคุมการนำเข้ามาและการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรการนำเข้าและการส่งออกของต้องกำกัด ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งจะต้องนำมาแสดงในเวลาปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วย ตัวอย่าง เช่น

 

>